วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 1

บทนำ

1.1 ที่มาและความสำคัญ
ที่มาของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพนั้นคือการได้นำความรู้การที่ได้รับจากเรียนมาประยุกต์เพื่อให้ใช้ได้จริงและ ความสำคัญของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพคือการได้ทดลองใช้วิชาความรู้เพื่อนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพในอนาคตความสำคัญของการฝึกงาน ตระหนักถึงภาระรับผิดชอบต่อตนเอง คณะฯ มหาวิทยาลัยหน่วยงานและวิชาชีพ เพิ่มทักษะความรู้ที่จำเป็นก่อนการทำงานจริง เมื่อสำเร็จการศึกษา ฝึกระเบียบ วินัย ความรับผิดชอบ ต่องานในหน้าที่ และสามารถปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย ฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น และสังคมการทำงาน
เหตุผลในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพคือการได้ใช้ความรู้ความสามารถให้เป็นประโยชน์
ความสำคัญของการฝึกงาน ตระหนักถึงภาระรับผิดชอบต่อตนเอง คณะฯ มหาวิทยาลัยหน่วยงานและวิชาชีพวิศวกรรม เพิ่มทักษะความรู้ที่จำเป็นก่อนการทำงานจริง เมื่อสำเร็จการศึกษา ฝึกระเบียบ วินัย ความรับผิดชอบ ต่องานในหน้าที่ และสามารถปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย ฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น และสังคมการทำงานดังนั้นการฝึกประสบการณ์วิชาชีพจึงมีความสำคัญต่ออนาคตเพราะหลังจากฝึกนักศึกษาต้องนำไปปฎิบัติจริง

1.2 วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสการรู้และได้รับประสบการณ์ชีวิตการทำงานที่แท้จริง
1.2.2 เพื่อให้นักศึกษาได้เตรียมความพร้อมก่อนที่จะจบออกไปทำงาน
1.2.3 เพื่อให้นักศึกษานำประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกงานมาปรับประยุกต์ใช้ในการทำงานในอนาคต
1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.3.1 เพื่อนักศึกษาจะได้มีความรู้และประสบการณ์จากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
1.3.2 เพื่อนักศึกษาจะได้นำไปประยุกต์ใช้ในอนาคต
1.3.3 เพื่อให้นักศึกษามีความเตรียมพร้อมก่อนไปประกอบวิชาชีพ
1.4 ขอบเขตของงาน
ลักษณะงานของหน่วยงานภายในองค์กรของ บริษัท ทีโอที จำกัดมหาชน คือมีการทำงานเป็นระบบงานโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาเกี่ยวข้อง โดยมีการส่งจดหมายลงทะเบียนผ่านคอมพิวเตอร์
โดยใช้โปรแกรมประยุกต์สำเร็จรูปโปรแกรมสารบรรณ ซึ่งได้รับมอบหมายงานดังนี้
1.4.1 รับ- ส่ง จดหมายลงทะเบียนผ่านคอมพิวเตอร์
1.4.2 เดินเอกสาร
1.4.3 ถ่ายเอกสาร
1.4.4 ทำกระดาษ ReUse

1.5 ระยะเวลาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ระยะการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เริ่มตั้งแต่วันที่ 3 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ 2551 ถึง วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
รวมระยะเวลา360 ชั่วโมง


Background.MyEm0.Com
บทที่ 2

บริษัททีโอที จำกัดมหาชน

2.1 ประวัติความเป็นมา

ประวัติทีโอทีโทรศัพท์ถูกประดิษฐ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา โดย ALEXANDER GRAHAM BELL เมื่อปี ค.ศ.1876 (พ.ศ.2419) ระบบโทรศัพท์ประกอบด้วยเครื่องโทรศัพท์ 2 เครื่องวางห่างกันโดยมีสายไฟฟ้าเชื่อมต่อระหว่างเครื่องทั้ง 2 ให้สามารถสื่อสาร ถึงกัน อาศัยหลักการของการเปลี่ยนสัญญาณเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้า ส่งไปตามสายไฟฟ้า เมื่อถึงปลายทางสัญญาณไฟฟ้าจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณเสียงตามเดิม ในขณะนั้นยังไม่มีชุมสายโทรศัพท์
โทรศัพท์เป็นคำมาจากภาษาอังกฤษ Telephone ซึ่งมาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Tele แปลว่า "ไกล" และ Phone แปลว่าเสียง รวมหมายถึง เสียงในที่ไกล
บทที่ 3

วิธีการดำเนินการ

3.1 ขั้นตอนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ขั้นตอนในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพื่อนำไปใช้ในวิชาชีพมี กระบวนการดำเนินงานหาประสิทธิภาพของการฝึกดังนี้
3.1.1 เข้าติดต่อกับทางบริษัทเพื่อขอฝึกประการณ์วิชาชีพ
3.1.2 เข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เมื่อทางบริษัทตอบรับ


3.2 วิธีการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
รายละเอียดวิธีการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของแต่ละงานตลอดการฝึกประสบการณ์มีดังนี้
- งานรับเอกสารจะมีการส่งเอกสารจากระบบงานจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องรับงานเอกสารผ่านโปรแกรม E-Documents โดยดูรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน และตรวจดูรายละเอียดขั้นตอนสุดท้ายนำส่งต่อไปยังหน่วยงานอื่นถัดไป
- งานเดินเอกสาร รับเอกสารจากพนักงานภายในหน่วยงานและนำส่งไปยังหน่วยงานอื่น
- งานถ่ายเอกสาร ถ่ายเอกสารที่เกี่ยวกับงานของหน่วยงาน
- งานทำกระดาษ Re Use นำกระดาษที่ใช้แล้วมาทำให้ใช้ได้ใหม่
- งานจัดชาร์ท เป็นการจัดเกี่ยวกับประเพณีและวันสำคัญต่างๆ










3.3 การวิเคราะห์ SWOT การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
การวิเคราะห์ SWOT เกี่ยวกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษามีดังนี้
3.3.1 จุดแข็ง (Strength : S)
มีทักษะในการนำไปใช้ต่อไปในชีวิตประจำวันคุณค่าของการฝึกงานทำให้เกิดความชำนาญคุณสมบัติที่ทำให้ได้เปรียบผู้ที่จะสมัครงานในอนาคตเรามีประสบการณ์มากกว่า,มีประสิทธิภาพดีกว่าซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพในการประกอบการ
3.3.2 จุดอ่อน (Weakness : W)
จุดอ่อนของการฝึกประสบการณ์คือการได้รับมอบหมายหน้าที่แต่สามารถปฎิบัติได้ช้าทำให้เสียเวลา
3.3.3 โอกาส (Opportunities : O)
โอกาสของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพคือมีโอกาสได้ทดลองงานและมีโอกาสได้ใช้วิชาที่ได้ศึกษามา มาปฎิบัติและประยุกต์ใช้ เพื่อนำไปใช้ได้จริงในอนาคต
3.3.4 อุปสรรค (Threat : T)
อุปสรรค์ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพคือปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้คือการได้รับมอบหมายงานที่เร่งด่วนแต่ไม่สามารถทำได้โดยรวดเร็วเนื่องจากยังอ่อนประสบการณ์
บทที่ 4

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ


4.1 รายละเอียดงานที่ได้รับมอบหมาย
งานที่ได้รับมอบหมายให้ทำภายในบริษัท ทีโอที จำกัดมหาชน คืองานใช้ระบบสารสนเทศ โดยได้มีการนำโปรแกรมประยุกต์มาใช้ในการ รับ – ส่ง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้โปรแกรมสารบรรณประยุกต์มาใช้ เพื่อเป็นการสะดวกในการดำเนิน รับ – ส่ง หนังสือหรือเอกสารสำคัญภายในอาคาร โดยแต่ละวันได้รับมอบหมายงานดังนี้

วันจันทร์ที่ 3 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
งานที่ได้รับทำในคือ
-การนำส่งเอกสารสำคัญในแต่ละชั้น
-การ รับ- ส่ง เอกสารโดยใช้โปรแกรมสารบรรณประยุกต์
-การถ่ายเอกสาร
บทที่ 5

สรุปและข้อเสนอแนะ

5.1 สรุปผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ชื่อนักศึกษา นายอดิสรณ์ วีสม
โปรแกรมวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
อาจารย์นิเทศ อาจารย์พรทิพย์ เหลียวตระกูล
สถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ บริษัท ทีโอที จำกัด มหาชน
ระยะเวลาที่ออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 320 ชั่วโมง

ภารกิจที่ได้รับมอบหมาย
-การนำส่งเอกสารสำคัญในแต่ละชั้น
-การ รับ- ส่ง เอกสารโดยใช้โปรแกรมสารบรรณประยุกต์
-การถ่ายเอกสาร
-การทำกระดาษ Reuse
-การถอดเทปการประชุม