วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 3

วิธีการดำเนินการ

3.1 ขั้นตอนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ขั้นตอนในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพื่อนำไปใช้ในวิชาชีพมี กระบวนการดำเนินงานหาประสิทธิภาพของการฝึกดังนี้
3.1.1 เข้าติดต่อกับทางบริษัทเพื่อขอฝึกประการณ์วิชาชีพ
3.1.2 เข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เมื่อทางบริษัทตอบรับ


3.2 วิธีการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
รายละเอียดวิธีการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของแต่ละงานตลอดการฝึกประสบการณ์มีดังนี้
- งานรับเอกสารจะมีการส่งเอกสารจากระบบงานจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องรับงานเอกสารผ่านโปรแกรม E-Documents โดยดูรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน และตรวจดูรายละเอียดขั้นตอนสุดท้ายนำส่งต่อไปยังหน่วยงานอื่นถัดไป
- งานเดินเอกสาร รับเอกสารจากพนักงานภายในหน่วยงานและนำส่งไปยังหน่วยงานอื่น
- งานถ่ายเอกสาร ถ่ายเอกสารที่เกี่ยวกับงานของหน่วยงาน
- งานทำกระดาษ Re Use นำกระดาษที่ใช้แล้วมาทำให้ใช้ได้ใหม่
- งานจัดชาร์ท เป็นการจัดเกี่ยวกับประเพณีและวันสำคัญต่างๆ










3.3 การวิเคราะห์ SWOT การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
การวิเคราะห์ SWOT เกี่ยวกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษามีดังนี้
3.3.1 จุดแข็ง (Strength : S)
มีทักษะในการนำไปใช้ต่อไปในชีวิตประจำวันคุณค่าของการฝึกงานทำให้เกิดความชำนาญคุณสมบัติที่ทำให้ได้เปรียบผู้ที่จะสมัครงานในอนาคตเรามีประสบการณ์มากกว่า,มีประสิทธิภาพดีกว่าซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพในการประกอบการ
3.3.2 จุดอ่อน (Weakness : W)
จุดอ่อนของการฝึกประสบการณ์คือการได้รับมอบหมายหน้าที่แต่สามารถปฎิบัติได้ช้าทำให้เสียเวลา
3.3.3 โอกาส (Opportunities : O)
โอกาสของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพคือมีโอกาสได้ทดลองงานและมีโอกาสได้ใช้วิชาที่ได้ศึกษามา มาปฎิบัติและประยุกต์ใช้ เพื่อนำไปใช้ได้จริงในอนาคต
3.3.4 อุปสรรค (Threat : T)
อุปสรรค์ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพคือปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้คือการได้รับมอบหมายงานที่เร่งด่วนแต่ไม่สามารถทำได้โดยรวดเร็วเนื่องจากยังอ่อนประสบการณ์

1 ความคิดเห็น: